JustPaste.it

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เกิดจากอะไร สัญญาณเตือน ก่อนสายเกินแก้!

วิทยาศาสตร์และความถูกต้องมาก่อน

ที่ Biocian เรามีเข้มงวดในเรื่องของคุณภาพเนื้อหา การวิจัย และความโปร่งใสในสิ่งที่เรานำเสนอ

  • เนื้อหาที่มากกว่า 1,000+ บทความและสื่อชนิดต่างๆที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
  • ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และมีการอ้างอิงงานวิจัยทั้งในหลากหลายประเทศทั่วโลก
  • ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการแพทย์ biocian รวมไปถึงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากมาย

 

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เกิดจากอะไร สัญญาณเตือน ก่อนสายเกินแก้!

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ที่มีการติดเชื้อที่ไต (Kidney) ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรง ทำให้ช่วงกรวยไตมีการอักเสบ และอาจเกิดความเสียหายต่อไตอย่างถาวร กรวยไตอักเสบจัดเป็นโรคหนึ่งที่มาจากพฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลนั้น โดยการตรวจพบโรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในขณะเดียวกันกรวยไตอักเสบ จะทำให้เกิดโรคภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง รวมถึงกระเพาะปัสสาวะอักเสบเช่นกัน

 

ลักษณะของโรคกรวยไตอักเสบ

กรวยไตเป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายโพรง เชื่อมต่อกับท่อไตโดยตรง ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของปัสสาวะ ซึ่งกรองของเสียออกจากไตในกระบวนการดูดกลับของไต (Tular Reabsorbtion) เพื่อดูดน้ำและสารอาหาร จากนั้นลำเลียงของเสียจากกลไกการขับทิ้ง (Tubular Secretion) เพื่อส่งออกไปสู่ท่อไต อาการของกรวยไตอักเสบนั้น จะแบ่งตามลักษณะได้สองแบบคือ กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis) และกรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis) ลักษณะของอาการที่แสดงออกทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน โดยจะอธิบายได้ดังนี้

  1. กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis) จะเป็นความผิดปกติที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram Negative Bacteria) เช่น เชื้อ E.Coli (Escherichia Coli) หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าอีโคไล, เชื้อเครบซิลล่า (Klebsiella) และเชื้อซูโดโมนาส (Pseudomonas) โดยอาการของกลุ่มนี้จะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน และรักษาให้หายขาดภายใน 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละบุคคล 
  2. กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis) ในกลุ่มนี้จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่มีความรุนแรงสูง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต อาจจะเกิดตรงบริเวณไตข้างใดข้างหนึ่งหรือกรวยไตทั้งสองข้าง สามารถตรวจผลทางปฏิบัติการได้จากการเพาะเชื้อแบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวที่ปนในปัสสาวะ ซึ่งจะมีการอักเสบของกรวยไตเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ของไตถูกทำลาย และเสี่ยงไตวายเรื้อรังได้

 

e81bb094ef1befb93710724d43e4c8e8.png